วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คำถามท้ายบทที่ 1

1.คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง พร้อมรูปประกอบ
            - คอมพิวเตอร์มีทั้งหมด 8 ประเภท คือ
                    1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)

                    2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)

                    3.มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)

                    4.เวิร์คสเตชัน (Workstation บางครั้งเรียก Supermicro)

                    5.ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

                    6.พีดีเอ (PDA-Personal Digital Assistant)

                    7.คอมพิวเตอร์เครือข่าย (Network Computers)

                    8.คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computers)



2.คอมพิวเตอร์แบบฝังคืออะไร

            -คอมพิวเตอร์แบบฝังคือ คอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้มองไม่เห็นจากรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ นิยมใช้การทำงานเฉพาะด้าน โดยทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมหน้าที่การทำงานบางอย่าง เช่นเตาอบไฟฟ้า นาฬิกาข้อมือ อุปกรณ์เล่นเกม



3.ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร

            -ข้อมูลคือข้อมูลดิบที่ได้มาจากหลายๆ ที่เป็นข้อมูลดิบยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองเนื้อหาของแต่ละแหล่งจะตรงกันหรือแตกต่างกันเล็กน้อยและอาจจะไม่ต้องตามความต้องการ

              ซาเรซวิค และวูด ได้ให้คำนิยามสารสนเทศไว้ 4 นิยามดังนี้
1. สารสนเทศ คือ การเลือกสรรจากชุดของข่าวสารที่มีอยู่ เป็นการเลือกที่ช่วยลดความไม่แน่นอน หรือกล่าวได้ว่า สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้มีเลือกสรรมาแล้ว (เป็นข้อมูลที่มีความแน่นอนแล้ว) จากกลุ่มของข้อมูลที่มีอยู่
2. สารสนเทศ คือ ความหมายที่มนุษย์ (สั่ง) ให้แก ่ข้อมูล ด้วยวิธีการนำเสนอที่เป็นระเบียบแบบแผน
3. สารสนเทศ คือ โครงสร้างของข้อความใดๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทาง จินตภาพ (ภาพลักษณ์) ของผู้รับ (ข้อความ หมายถึง ที่รวมของสัญลักษณ์ต่างๆ มีโครงสร้างที่มี จุดมุ่งหมาย โดยผู้ส่งมีเป้าหมายที่จะ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทาง จินตภาพ (+ความรู้สึกนึกคิด) ของผู้รับ(สาร)
4. สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีค่าในการตัดสินใจ

            จากนิยามทั้ง 4 นิยามสามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่มีการปรับเปลี่ยน (Convert) ด้วยการจัดรูปแบบ (Formatting) การกลั่นกรอง (Filtering) และการสรุป (Summarizing) ให้เป็นผลลัพธ์ที่มี รูปแบบ (เช่น ข้อความ เสียง รูปภาพ หรือวีดิทัศน์) และเนื้อหาที่ตรงกับ ความต้องการ และเหมาะสมต่อการนำไปใช้



4. VLSI คืออะไรสำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร

              -VLSI ย่อมาจาก very large scale integration (แปลว่า วงจรรวมความจุสูงมาก) หมายถึงการสร้างชิป (chip) โดยสามารถนำประตู (gate) มารวมกันได้ถึง 100,000 ประตูหรือมากกว่านั้น แล้วนำมาใช้เป็นตัวประมวลผล ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงได้มาก ในปัจจุบัน มีการสร้างชิปที่มีประตูมากยิ่งไป กว่านั้น เรียกว่า ULSI ( ultra large scale integraton หรือวงจรรวมความจุสูงยิ่ง) จากวงจรไอซีได้มีการพัฒนาวงจรรวมความจุสูงหรือแอลเอสไอ (Large Scale Integrated Circuit : LSI)ขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ.2513 ทำให้สามารถบรรจุวงจรทรานซิสเตอร์จำนวนหลายพันตัวลงบนแผ่นซิลิคอนขนาด 1/6 ตารางนิ้ว นับเป็นการเริ่มยุคที่สี่ของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ระหว่าง พ.ศ.2513 – 2532 และในปี พ.ศ. 2518 สามารถเพิ่มปริมาณวงจรหลายหมื่นวงจรลงบนซิลิคอนขนาดเท่าเดิม เรียกว่า วงจรรวมความจุสูงมากหรือวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated Circuit : VLSI) จากการประดิษฐ์วีแอลเอสไอสามารถนำมาสร้างเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit : CPU) ของคอมพิวเตอร์ และสามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงจนสามารถตั้งบนโต๊ะทำงานในสำนักงาน หรือพกพาไปในที่ต่างๆ เหมือนกระเป๋าหิ้วได้ เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดในยุคนี้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์(Microcomputer)นอกจากนี้ ยังสามารถนำวงจรวีแอลเอสไอมาสร้างเป็นหน่วยความจำรองที่สามารถเก็บข้อมูลในระหว่างที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ทำให้ได้หน่วยความจำที่มีความจุมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ยุคนี้จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนคอมพิวเตอร์นอกจากช่วยงานคำนวณแล้วยังสามารถทำงานเฉพาะทางอื่นๆ ได้มากกว่าช่วยงานคำนวณ เช่น การนำเสนอข้อมูลแบบสื่อประสม



5. นิสิตใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง

            -ใช้ความการค้นคว้าความรู้ ความบันเทิงต่างๆ ใช้ในการทำงานส่งอาจารย์ ใช้ติดต่อสื่อสาร


ที่มา : web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/past/page2x.htm

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2551

IBM พัฒนาชิพหล่อเย็น สถาปัตยกรรมใหม่ชีพียูจิ๋ว


วิศวกรไอบีเอ็มทำระบบหล่อเย็น เดินท่อน้ำบางเท่าเส้นผมไหลเวียนในชิพช่วยระบายความร้อนพลังชีพียูชะงัด



กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ปัญหาหนักอกของผู้ผลิตชิพคอมพิวเตอร์ตลอดประวัติศาสตร์นับตั้งแต่คลอดชิพตัวแรกของโลกออกมาคือ ความร้อน เนื่องจากหัวใจสำคัญของชิพคือ ทรานซิสเตอร์จำนวนหลายล้านตัวที่อัดแน่นกันอยู่ข้างใน และยังมีวงจรไฟฟ้าที่ซ่อนอยู่ในชิพด้วย



จึงไม่ใช่ที่ใช่ทางที่ใครจะเอาน้ำไปเท แต่วิศวกรของไอบีเอ็มไม่คิดอย่างนั้น พวกเขาเชื่อว่า ถ้าหาทางทำให้ชิพมีท่อน้ำขนาดเส้นผมหล่ออยู่ข้างในจะช่วยแก้ปัญหาให้แก่คอมพิวเตอร์ในอนาคตได้



ทุกวันนี้ชิพคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงมาก ด้วยเทคโนโลยีบีบทรานซิสเตอร์ให้เล็กลง ยิ่งมีทรานซิสเตอร์มากเท่าไร ความเร็วในการประมวลผลยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งมีทรานซิสเตอร์อัดแน่นกันมากเท่าไร ยิ่งร้อนง่ายขึ้นเช่นกัน ความร้อนเหล่านี้จะถ่ายเทออกมาจากวงจรเล็กๆ และยากจะควบคุมให้เย็นได้ง่าย



เพราะเหตุนี้จึงจำเป็นต้องใช้พัดลมระบายความร้อนให้ซีพียู ไม่อย่างนั้นชิพไหม้เป็นตอตะโก หากลองเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ดูจะเห็นพัดลมขนาดใหญ่ และครีบอะลูมิเนียม หรือทองแดง ที่ศัพท์เรียกว่า "ฮีตซิงก์" ตั้งอยู่บนซีพียู ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกไป ถ้าเป็นซีพียูขนาดใหญ่ก็ใช้ได้ดี แต่ไม่เหมาะกับซีพียูขนาดเล็กในปัจจุบัน



ความจริงไอบีเอ็มได้ลองออกแบบโปรเซสเซอร์รุ่นอนาคต โดยจัดวางชิพซ้อนเป็นแนวตั้ง เพื่อประหยัดพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพ แทนที่จะวางเรียงเป็นแผงต่อกัน ผลที่ได้คือ อัตราส่วนความร้อนต่อปริมาตรสูงกว่าความร้อนจากเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเสียอีก



นักวิจัยไอบีเอ็มจึงหาทางแก้โดยออกแบบท่อขนาดเล็กประกบอยู่ระหว่างซีพียูที่ซ้อนกันอยู่ เทคนิคดังกล่าวไอบีเอ็มใช้ท่อขนาด 50 ไมครอน (50 ส่วนล้านเมตร) ซึ่งเล็กมากและหุ้มกันรั่ว และช็อตผนึกอยู่ข้างใน



ถึงท่อจะเล็กมากแต่ประสิทธิภาพระบายความร้อนไม่เล็กเลย เนื่องจากน้ำมีคุณสมบัติดูดซับความร้อนได้ดีกว่าอากาศ และด้วยเหตุผลนี้เอง คอมพิวเตอร์ระดับสูงจึงต้องใช้น้ำระบายความร้อน และไอบีเอ็มตั้งใจใช้เทคนิคใหม่นี้กับซีพียูรุ่นจิ๋ว



นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียให้ความเห็นว่า วิธีระบายความร้อนของไอบีเอ็มเคยมีนักวิจัยทดลองทำแล้ว แต่ไอบีเอ็มสามารถทำให้ใช้งานจริงในเชิงผลิตภัณฑ์ได้ อย่างไรก็ตาม ผลงานล้ำเลิศของไอบีเอ็มนี้ยังวิจัยอยู่ในห้องแล็บเหมือนกัน และคาดว่าอย่างน้อยอีก 5 ปี คงออกมาสู่ตลาด




Date : 13/06/2551 , 17.38

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

อินเทลเปิดตัว“อะตอม”ราคาถูก เจาะกลุ่มเด็กนักเรียน-กำลังซื้อต่ำ


อินเทลเปิดตัวอะตอมในเมืองไทยอย่างเป็นทางการ สร้างคอมพิวเตอร์สายพันธุ์ใหม่ เน็ตบุ๊ก เน็ตท็อป ราคาประหยัด เจาะกลุ่มผู้ใช้ระดับแม่ค้า นักเรียน ม.ต้นไปจนถึงประถม คาดช่วยขยายจำนวนประชากรผู้ใช้คอมพิวเตอร์โตเป็น 20% ในไม่ช้า

นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทล ไมโคร อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อินเทลพร้อมประกาศเปิดตัว อินเทล “อะตอม” โปรเซสเซอร์ อย่างเป็นทางการในประเทศไทย โดยอินเทล อะตอม นั้นถือเป็นคอมพิวเตอร์สายพันธุ์ใหม่ สำหรับกลุ่มเน็ตบุ๊ก (netbook)และเน็ตท็อป (nettop) เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่บุคคลที่ต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์ในราคาประหยัด น้ำหนักเบาพกพาง่าย เพื่อนำไปใช้งานนอกสถานที่ได้ง่าย และไม่เน้นการใช้งานมากนัก

“อะตอม นับเป็นคอมพิวเตอร์ทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ไม่ต้องการจ่ายเงินแพง ซื้อโน้ตบุ๊กที่มีราคาในระดับ 2 หมื่นบาทปลายขึ้นไปทั้งที่ไม่มีความจำเป็นในการใช้งานมาก โดยเน็ตบุ๊ก และเน็ตท็อป มีราคาระดับหมื่นบาทต้นๆ และยังมีน้ำหนักเบาสามารถพกพาออกไปทำงานนอกสถานที่ได้อย่างสะดวก และยังประหยัดพลังงานไฟฟ้าเป็นอย่างดี” นายเอกรัศมิ์กล่าว


ทั้งนี้ อินเทลเชื่อว่าอะตอมจะช่วยขยายตลาดคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยให้ขยายตัวมากขึ้นจากปัจจุบันมีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อจำนวนประชากรในประเทศไทยเพียง 15% เป็น 20% ในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากมีคุณสมบัติการใช้งานโปรแกรมพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์งาน ดูหนัง ฟังเพลง ดูรูป หรือต่ออินเทอร์เน็ตในราคาที่สามารถเลือกซื้อได้

“มีแนวโน้มว่าจะมีการผลิตเน็ตบุ๊ก และเน็ตท็อปในราคาต่ำกว่า 1 หมื่นบาท ซึ่งจะทำให้การเข้าถึงสินค้ากลุ่มนี้ของประชากรทั่วไปง่ายขึ้น ทำให้แม่ค้าแม่ขายหรือบุคคลทั่วไปซื้อเน็ตบุ๊ก เน็ตท็อปมาใช้งานเหมือนโทรศัพท์มือถือปัจจุบันมากขึ้น” นายเอกรัศมิ์กล่าว

อย่างไรก็ดี เน็ตบุ๊ก และเน็ตท็อป มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือกลุ่มผู้ที่ไม่ต้องการจ่ายเงินในราคาสูงเพื่อซื้อโน้ตบุ๊ก ผู้ที่มีความต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น กลุ่มนักเรียนระดับมัธยมต้นไปจนถึงระดับประถมศึกษา และเป็นเครื่องที่ 2 สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์โน๊คบุ๊กหรือ พีซีแล้ว แต่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานนอกสถานที่

“เมื่อผู้ผลิตสามารถนำเสนอคอมพิวเตอร์เน็ตบุ๊กและเน็ตท็อปที่ใช้อินเทล อะตอมโปรเซสเซอร์ ในราคาประหยัดกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป จะส่งผลดีให้ประชากรเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ที่สมบูรณ์มากขึ้นและเป็นการลดช่องว่างการเข้าถึงดิจิตอลได้อีกทางหนึ่ง”

นายเอกรัศมิ์กล่าวอีกว่าอะตอม เดิมมีชื่อรหัสว่า Diamondville เป็นโปรเซสเซอร์ขนาเล็กที่สุดจากอินเทลซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 45 นาโนเมตร และเทคโนโลยี Hi-k metal gate ซึ่งทันสมัยที่สุดในอุตสาหกรรมในขณะนี้ ทำให้ได้โปรเซสเซอร์ขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพแต่ใช้พลังงานต่ำ ซึ่งอินเทลได้มุ่งเน้นพัฒนาเพื่อเน็ตบุ๊กและเน็ตท็อปโดยเฉพาะ โดยคอมพิวเตอร์ในกลุ่มนี้จะมีราคาประหยัด ง่ายต่อการใช้งาน เน้นการดูแลข้อมูล มุ่งเน้นงานแอปพลิเคชันบนอินเทอร์เน็ต มากกว่าการสร้างข้อมูล หรือใช้แอปพลิเคชันที่ซับซ้อน

โดยความแตกต่างของเน็ตบุ๊ก และเน็ตท็อป กับโน้ตบุ้กและพีซี คือจะมีขนาดหน้าจอเล็กกว่าไม่เกิน 10 นิ้ว มีความสามารถในการใช้งานพร้อมกันได้น้อยกว่า ไม่เหมาะกับการใช้งาน กราฟฟิก ออกแบบ หรือการประมูลผลรูปภาพที่มีความละเอียดขนาดใหญ่ มีน้ำหนักเบา กินไฟน้อย

ที่มา : http://www.bcoms.net/news/detail.asp?id=8435

Date : 12/06/51 , 16.35 น.

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551

แนะนำตัว

ชื่อ : วิวัฒน์ เค้าโนนคร้อ
ชื่อเล่น : ตั้ม
รหัส : 5121207092
คณะ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์

มิวชิค